1. กรุงศรีอยุธยาไม่สิ้นคนดี
สำนวนคำพังเพยประโยคนี้เป็นสำนวนเก่า ซึ่งอาจจะมีมาจากครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยาก็ได้ เพราะปรากฏมีหลักฐานในเสภาขุนช้างขุนแผน ตอนเถรกวาดแก้แค้นพลายชุมพลตอนหนึ่งด้วยว่า ” คนดีไม่สิ้นอยุธยา ” สำนวนนี้เป็นความหมาย ที่อธิบายอยู่ในตัวแล้ว ” คนดี ” ก็คือคนเก่งหรือผู้มีความสามารถในทางต่อสู้และความคิดอยู่พร้อม อย่าชะล่าใจนักจักเสียที
2. กลิ้งครกขึ้นภูเขา
สำนวนนี้ มักจะพูดกันว่า ”เข็นครกขึ้นภูเขา ” กันส่วนมาก แต่แท้จริง ” ครก ” ต้องทำกริยา ” กลิ้ง ” ขึ้นไปจึงจะถูก กล่าวคำว่า ” เข็น ” แปลว่า เรื่องที่กำลังจะทำหรือจะทำให้สำเร็จบรรลุผลนั้น ยากลำบากแสนเข็ญมิใช่ของที่ทำได้ง่ายนักเปรียบได้กับ การกลิ้งครกขึ้นภูเขาไปสู่ยอดเขา
กลืนไม่เข้าคายไม่ออก : แปลว่าหมดหนทางที่จะทำหรือไม่รู้จะทำอย่างไรดีหรือ เป็นการทำให้ตัดสินใจไม่ถูก เพราะจะไม่ทำลงไปก็ไม่ดี ทำลงไปก็ไม่ดีเป็นการยากที่จะตัดสินใจทำลงไปได้ง่าย เหมือนก้างปลาหรือเศษอาหารอะไรอย่างหนึ่ง เข้าไปติดอยู่กลางลำคอกลืนก็ไม่เข้าคายก็ไม่ออก
3. กินบนเรือน ขี้รดบนหลังคา
แปลว่าคนที่เนรคุณคนเปรียบได้กับคนที่อาศัยพักพิงบ้านเขาอยู่แล้ว คิดทำมิดีมิชอบให้เกิดขึ้นภายในบ้านนั้น ทำให้เจ้าของบ้านที่ให้อาศัยต้องเดือดร้อนคนโบราณเอาลักษณะของแมวที่ไม่ดี คือกินแล้วไม่ขี้ให้เป็นที่กลับขึ้นไปขี้บนหลังคาให้เป็นที่สกปรกเลอะเทอะ เพราะคนสมัยก่อนต้องการให้หลังคาสะอาดเพื่อรองน้ำฝนไว้กิน จึงเอาแมวชั่วนี้ มาเปรียบเทียบกับคนชั่วที่ไม่รู้จักบุญคุณคน
4. กินปูนร้อนท้อง
สำนวนนี้มาจากตุ๊กแก ว่ากันว่า ตุ๊กแกที่กินปูน (ปูนแดงที่กินกับหมากพลู )
มักจะทำอาการกระวนกระวาย ส่งเสียงร้องแกร็กๆ เหมือนอาการร้อนท้องหรือปวดท้อง
จึงนำเอามาเปรียบกันคนที่ทำพิรุธหรือทำอะไรไว้ไม่อยากให้ใครรู้แต่เผอิญมี ใครไปแคะได้ หรือเรียบเคียงเข้าหน่อยทั้ง ๆ ที่เขาไม่ได้เจตนาเจาะจงแต่ตัวเอง ก็แสดงอาการเป็นเชิงเดือดร้อนออกมาให้เขารู้ สำนวนนี้มักพูดกันว่า ” ตุ๊กแกกินปูนร้อนท้อง “
5. เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน
เบี้ย ” ในสมัยก่อนเป็นพวกหอยชนิดหนึ่งเรียกว่า ” เบี้ยจั่น ” ใช้เป็นเงินแลกเปลี่ยนซื้อของได้ แต่มีราคาต่ำแปลตามตัวอักษรนี้ก็ว่าเก็บเบี้ยที่ตกอยู่ตามใต้ถุนร้าน หรือแผงลอยวางของขายซึ่งตกหล่นอยู่บ้าง เพราะมีการซื้อขายแลกเปลี่ยนเบี้ยกับของโดยไม่เห็นว่าจะเป็นเบี้ยมีราคาต่ำ สำนวนนี้จึงแปลความหมายว่าถึงจะทำงานเล็กใหญ่ หรือค้าขายอะไรก็ตาม ก็พยายามค่อย ๆ ทำให้มีผลได้แม้เล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ยังดีกว่าปล่อยให้หลุดลอยไปเสีย
6.ไก่กินข้าวเปลือก
สำนวนคำพังเพยประโยคนี้ ถ้าพูดให้เต็มความก็ต้องพูดว่า ” ตราบใดที่ไก่ยังกินข้าวเปลือกอยู่ ตราบนั้นคนเราก็ยังอดกินสินบนไม่ได ” เข้าใจว่าเป็นคำพังเพยของจีน ๆ เอามาใช้เป็นภาษาของเขาก่อน แล้วไทยเราเอามาแปลเป็นภาษาไทยใช้กันอยู่มากในสมัยก่อน ๆ
7.ขี่ช้างจับตั๊กแตน
หมายความว่า ลงทุนเสียมากมายเพื่อทำงานเล็ก ๆ เท่านั้น เป็นทำนองว่าผลประโยชน์ที่ได้ไม่คุ้มกับที่ลงทุน หรือทำให้เป็นการใหญ่โตเลย หรือแปลความหมายสั้น
8. เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม
9. ขว้างงูไม่พ้นคอ
หมายความว่า มีภาระหรือมีเรื่องเดือดร้อน ทั้งของตนเองและที่เกี่ยวข้องอยู่ แต่ไม่สามารถจะแก้ไขให้รอดพ้นไปได้
10. กินที่ลับ ขับที่แจ้ง
สำนวนนี้ มีความหมายไปในทำนองที่ว่า ทำอะไรไว้ในที่ลับแล้วอดปากไว้ไม่ได้เอามาเปิดเผย ให้คนทั้งหลายรู้เพื่อจะอวดว่าตนกล้าหรือสามารถทำอย่างนั้นได้โดยไม่กลัวใคร ผิดกฎหมาย อะไรทำนองนั้นหรือไม่กลัว
11. กว่าถั่วจะสุก งาก็ไหม้
สำนวนพังเพยนี้ มาจากการคั่วถั่วกับงาในกระทะเดียวกัน ถั่วเป็นของสุกช้างาสุกเร็วมัวรอไห้ถั่วสุก งาก็ไหม้เสียก่อน สำนวนนี้หมายถึงการทำอะไรสองอย่างพร้อมกันหรือทำอะไรสักอย่างที่ไม่รอบคอบ มัวคิดแต่จะได้ทางหนึ่งต้องเสียทางหนึ่งในความหมายอีกแง่ก็แปลว่าการทำอะไร มัวรีรออยู่ ไม่รีบลงมือทำเสียแต่แรกครั้นพอลงมือจะทำ ก็ไม่ทันการเสียแล้วเพราะคนอื่นเขาเอาไปทำเสียก่อน
12. กำขี้ ดีกว่า กำตด
13. เกลียดขี้ขี้ตาม เกลียดความความถึง
14. จับปลาสองมือ